ตอนนี้ก็กลางๆฝนกันแล้วครับ.. หลายแห่งหลายที่ ก็ประสบกับภัยที่มากับฝน น้ำท่วม ดินสไลด์ ถนนหนทางชำรุดเสียหาย ไฟฟ้าขัดข้อง อันเป็นผลเนื่องมาจาก "ฝน" เมื่อคืนผมเฝ้าฟังที่ ช่อง(Channel) "Thailand Zello Club" ได้ข้อคิดจากการฟังมาว่า "เรื่องการป้องกันภัยในระดับประเทศ ของประเทศไทยนั้น ไม่ค่อยมีช่องทางในการสื่อสารจากภาคประชาชนผู้ประสบภัยกับทางหน่วยงานป้องกันภัย" ผมมาคิดดูแล้ว.. เห็นว่าก็มีอยู่หลายทางนะครับ.. แต่ที่สำคัญ.. มันไม่มีกับทุกๆพื้นที่ ทำไมถึงผมถึงคิดอย่างนั้นก็เมื่อปลายปี 56 ผมเคยใช้โปรแกรม e-Qso (หลายท่านเรียก e Radio) เฝ้าฟังที่ช่อง "๐ศภช" (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192) หลายๆครั้งที่เข้าไปร่วมทดสอบสัญญาณ และรายงานสภาพอากาศ เพื่อนๆที่เฝ้าฟังก็มาจากหลายๆจังหวัด หลายๆภาคส่วน ประชาชนคนธรรมดาก็มี แต่ส่วนมากจะเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ในนามของ"เพื่อนเตือนภัย" แต่ก็ไม่ได้มีอยู่กันทุกจังหวัดนะครับ ตอนนั้นกลุ่มเพื่อนเตือนภัย สระบุรี ดูเหมือนจะมากที่สุด เท่าที่รู้ยังมีอีกหลายช่องทางครับ เช่นสายด่วนที่มีเลข สามตัวบ้าง สี่ตัวบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ ก็เหมือนที่ผมรู้ว่ามี e Radio "๐ศภช" แต่คนอื่นไม่รู้ ก็เลยหันมาคิดย้อนดูอีกทีว่า สำหรับคนทั่วไปแล้ว มันไม่มีช่องท่างการสื่อสารกับหน่วยงานที่จะขอความช่วยเหลือจริงๆ นี่หว่า...
ครับ.. เมื่อนึกถึงช่วงเวลานั้น ผมมีความสนุกสนานในการเชื่อมสัญญาณวิทยุ CB245 เข้ากับโปรแกรม e-Qso (หลายๆท่านเรียก "Link") เนื่องจากว่า "มันคงดีหากว่าเพื่อนๆที่เล่นวิทยุ CB245 ท่านอื่นๆก็สามารถแจ้งเหตุภัยพิบัติและรับฟังข้อมูลต่างๆผ่านช่องทางนี้ได้" เป็นแรงบันดาลใจอย่างนึงที่ทำให้ผมคิดว่าวิทยุสื่อสาร "มันยังมีประโยชน์" หลังจากที่สอบได้ใบประกาศพนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แต่ไม่มีเงินซื้อเครื่อง ก็เลยไม่มีนามเรียกขานมาร่วม 17 ปี พอได้นามเรียกขานมา(E23HYN) เข้าสู่วงการนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นเต็มตัว กลับหันมาเล่น CB245 มันน่า....
พอพูดถึง "Link" ตามความคิดเห็นของผม คือการเชื่อมสัญญาณระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านอุปกรณ์ใดๆ.. ฟังแล้วงง นะครับ.. อธิบายง่ายๆ e Radio Link ก็คือ ใช้โปรแกรม e-Qso เป็นตัวกลางในการรับ-ส่ง สัญญาณเสียง ซึ่งโปรแกรมมันติดตั้งบนอุปกรณ์ นั่นคือคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอาจเชื่อมสัญญาณเสียงจากหลายแหล่ง เช่น วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์ ไมโครโฟน หรือแหล่งใดแหล่งหนึ่ง หรือไม่เชื่อมเลย เพียงแต่นำเสียงจากโปรแกรมชุดอื่นมาแสดงผลอย่างเดียวก็ได้ และไม่จำกัดจำนวนโปรแกรมที่เชื่อมต่อสัญญาณถึงกันด้วย.. ก็ยังงง อยู่ดี แต่ก็คงอธิบายได้เท่านี้ครับ.. ขืนอธิบายต่อไป จะเพี้ยน..
เกริ่นนำมาก็นานเลยครับ.. เข้าสู่หัวข้อก็แล้วกัน มาดูว่า Zello Link เป็นอย่างไร โปรแกรม Zello มีจุดเด่นที่ผมชอบคือ การเฝ้าฟังได้หลายช่องในเวลาเดียวกัน และยังสามารถบันทึกข้อมูลเสียงสนทนาได้อีกด้วย ส่วนที่ว่ามีคนใช้กันเยอะนั้นไม่รู้ใช่จุดเด่นหรือไม่นะครับ.. จากที่เคยมีประสบการณ์มาจาก e Radio Link ผมก็เลยคิดที่จะลองทำ Zello Link ดูบ้าง สายสัญญาณจาก e Radio Link นำมาใช้กับ Zello Link ได้เลยทันที (ลืมบอกว่าผมใช้ระบบ Vox ของโปรแกรมครับ) ทดลองแล้วผมก็ว่าโอเคนะครับ.. การตัดต่อของเสียงเข้าก็มีหน่วงเวลาบ้าง แต่ก็คุยกันรู้เรื่อง สักพัก ผมก็เริ่มหันมาเล่น Echo Link เหมือนเดิมครับ.. สายชุดเก่าจาก Zello Link ก็นำมาใช้งานกับ Echo Link ได้เลย มาถึงจุดนี้คงพอจะร้อง อ๋อ.. กับสิ่งที่ผมอธิบายคำว่า "Link" กันบ้างหรือยังครับ.. การ Link ผมลองมาหลายโปรแกรม แต่ ผมใช้การนำเสียงจากวิทยุสื่อสารเข้าสู่โปรแกรม และนำเสียงจากโปรแกรมออกอากาศผ่านทางวิทยุสื่อสาร กับทุกๆโปรแกรม
จากข้างต้นจริงๆคำว่า Link แปลกันตรงๆก็คือ การเชื่อมต่อ แต่เรามักเข้าใจว่า Link คือการนำเอาวิทยุสื่อสารมาต่อกับโปรแกรมสื่อสารต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะรับวัฒนธรรมจากโปรแกรม Echo Link ที่มี -L ต่อท้ายนามเรียกขาน แล้วเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกันเรียกว่า ผ่านลิงค์ของท่านนั้นท่านนี้มา ว่างั้น
ครับ.. สรุปในมุมมองของผม Zello Link คือเราเอาอุปกรณ์สื่อสารเชื่อมกับโปรแกรม Zello ลองนึกดูดีๆนะครับ วิทยุสื่อสารไม่ต้องมาตั้งค่าไมค์ ไม่ต้องมาตั้งค่านู่นนี่นั่นมากมาย ความถี่ตรง ระยะได้ คุยกันเลย โทรศัพท์ต้องรู้เบอร์ไม่งั้นคุยกันไม่ได้ แต่ระบบโทรศัพท์เขาเรียกโครงข่าย แต่เมื่อเป็นโปรแกรมต้องมีการปรับแต่งก่อนเสมอ และต้องมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนท เพราะฉนั้นวิทยุสื่อสารคือเครื่องมือสื่อสาร โปรแกรมสื่อสารต่างๆจริงๆคือ Link ทั้งนั้น...เพราะมีโปรแกรมแต่ไม่มีเน็ทก็เท่านั้น โทรศัพท์ลองไม่เติมตังค์.... ก็จบผมว่านะ ถูกผิด ก็ผมคิดเอง.. คุณคิดว่าอย่างไร จะได้เอามาแชร์กัน